นักวางแผนการเงิน CFP® ที่ปรึกษาการเงิน

เป้าประสงค์ของทีมงานเรา

เรามีพันธกิจที่จะสนับสนุน ส่งเสริมให้ผู้ที่มีเป้าประสงค์ช่วยทุกครอบครัวให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ด้วยการวางแผนการเงิน และการโค้ชชิ่งอย่างต่อเนื่องให้บรรลุเป้าหมาย ดังนั้น การอบรม พัฒนาให้ความรู้ และประสบการณ์จากพี่เลี้ยง ของบริษัทฯ และการผ่านสอบตามมาตราฐานสมาคมนักวางแผนการเงิน จะทำให้ผู้อ่าน สามารถประกอบวิชาชีพ นักวางแผนการเงิน CFP และ ที่ปรึกษาการเงิน AFPT บรรลุเป้าหมายอย่างแท้จริง

เส้นทางอาชีพ นักวางแผนการเงิน CFP®

คุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ.1972 ปัจจุบัน คุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ได้รับการยอมรับว่าเป็นมาตรฐานสูงสุดด้านการวางแผนการเงินในระดับสากล สมาคมนักวางแผนการเงินไทยเป็นหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตให้บริหารจัดการโครงการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ในประเทศไทย ตามข้อตกลงกับ Financial Planning Standards Board Ltd. (FPSB) โดยสมาคมฯจะอนุญาตให้เฉพาะบุคคบที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP เท่านั้น มีสิทธิ์ใช้เครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ซึ่งได้แก่ CFP®, Certified Financial Planner™ และ

Find the FPSB Affiliate Organization
in Your Territory:

ในสภาวการณ์ปัจจุบันที่ความมั่งคั่ง มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ผู้บริโภคในประเทศต่างๆทั่วโลกต่างต้องการคำปรึกษาด้านการวางแผนการเงินส่วนบุคคลจากนักวางแผนการเงินที่มีความรู้ความสามารถ และยึดมั่นในจรรยาบรรณ ทำให้ความต้องการใช้บริการจากนักวางแผนการเงินเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สมาคมนักวางแผนการเงิน : เส้นทางอาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ®

คุณสมบัติ 4E

การศึกษา (Education)

ผู้ขอรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผน CFP และคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาทางการเงิน AFPT จะต้องผ่านการอบรมเพื่อให้มีความรู้ และทักษาะด้านการวางแผนการเงินจากสถาบันอบรมของสมาคมฯ การอบรมหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ประกอบด้วยการอบรม 6 ชุดวิชา ได้แก่
ชุดวิชาที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ
ชุดวิชาที่ 2 การวางแผนการลงทุน
ชุดวิชาที่ 3 การวางแผนเพื่อการประกันภัย
ชุดวิชาที่ 4 การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ
ชุดวิชาที่ 5 การวางแผนภาษี และมรดก
ชุดวิชาที่ 6 การจัดทำแผนการเงิน
ทั้งนี้ ผู้มีคุณวุฒิการศึกษา หรือคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเนื้อหาการอบรม สามารถยื่นขอยกเว้นการอบรมในชุดวิชาที่เกี่ยวข้องผ่านการเทียบเคียง พื้นฐานความรู้ (Transcript Reviews) หรือ ขอยกเว้นการอบรมในทุกชุดวิชาผ่านการขอสิทธิ์ เข้าสอบโดยไม่ผ่านการอบรม (Challenge Status)

การเทียบเคียงพื้นฐานความรู้ (Transcript Review)

ผ่านการเรียนและสอนในระดับระดับปริญญาตรี หรือโท

– วิชาบริหารการเงินส่วนบุคคล (Personal Finance) ภาษีพื้นฐาน (Taxation) และมูลค่าเงินตามเวลา (Time Value of Money) ได้รับการยกเว้นอบรม ชุดวิชาที่ 1

– วิชาการลงทุน (Investment) และการวิเคราะห์หลักทรัพย์ (Securities Analysis) หรือ มีใบอนุญาต ที่ปรึกษาการลงทุน (Investment Consultant) ผู้จัดการกองทุน (Fund Manager) หรือ ที่ปรึกษาการเงิน (Financial Advisor – FA) ได้รับการยกเว้น ชุดวิชาที่ 2

– วิชาการประกันภัย (Insurance) มีใบอนุญาต ตัวแทน/นายหน้าประกันชีวิต ได้รับการยกเว้นอบรม ชุดวิชาที่3

การขอสิทธิ์เข้าสอบโดยไม่ผ่านการอบรม (Challenge Status)

มีวุฒิการศึกษา จบการศึกษาในระดับปริญญาเอกจากสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการรับรองจากสำนักงาน ก.พ. ในสาขาวิชาการเงิน บริหารธุรกิจ บัญชี หรือเศรษฐศาสตร์ หรือ มีคุณวุฒิวิชาชีพ
– Certified Public Accountant (CPA) หรือ
– Chartered Financial Analyst (CFA) (Level3) หรือ
– CISA (Level3)

การสอบ (Examination)

ผู้ขอรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP และคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT จะต้องสอบผ่านหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP เพื่อวัดความรู้ และประเมินความสามารถในการนำความรู้ และทักษะไปประยุกต์ใช้สำหรับการให้คำปรึกษาและการจัดทำแผนการเงินในสถานการณ์จริง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้รับคำปรึกษา

การสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ประกอบด้วยข้อสอบ 4 ฉบับ ได้แก่
ฉบับที่ 1: พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ (ผ่านการอบรม ชุดวิชาที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ
ฉบับที่ 2: การวางแผนการลงทุน (ผ่านการอบรมชุดวิชาที่ 2 การวางแผนการลงทุน)
ฉบับที่ 3: การวางแผนการประกันภัย และการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ (ผ่านการอบรมชุดวิชาที่ 3 การวางแผนการประกันภัย อบรมชุดวิชาที่ 4 การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ)
ฉบับที่ 4: ส่วนที่ 1 การวางแผนภาษีและมรดก (ผ่านการอบรมชุดวิชาที่ 5 การวางแผนภาษีและมรดก)
ฉบับที่ 4: ส่วนที่ 2 การจัดทำแผนการเงิน (ผ่านการอบรมชุดวิชาที่ 6 การจัดทำแผนการเงิน)

ประสบการณ์การทำงาน (Experience)

ผู้ขอรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP จะต้องมีประสบการณ์การทำงานด้านการสอน* หรือในอุตสาหกรรมการเงิน** ซึ่งครอบคลุม หลักปฏิบัติการวางแผนการเงิน* อย่างน้อย 1 ด้านหรือมากกว่า เป็นระยะเวลอย่างน้อย 3 ปี

หลักปฏิบัติการวางแผนการเงิน

  • การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าและกำหนดขอบเตของข้อผูกพัน
  • การรวบรวมข้อมูลของลูกค้า
  • การวิเคราะห์ และประเมินสถานการณ์ทางการเงินของลูกค้า
  • การจัดทำ และนำเสนอแผนการเงิน
  • การนำแผนการเงินไปปฏิบัติ
  • การทบทวนและปรับแผนการเงินตามสถานการณ์อย่างสม่ำเสมอ

    * ประสบการณ์การสอนหลักสูตรการเงินในระดับมหาวิทยาลัยสามารถนับได้สูงสุด 2 ปี โดยอีก 1 ปีต้องเป็นประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการเงินโดยตรง หรือประสบการณ์การสอนหลักสูตรการวางแผนการเงินที่ สมาคมฯ ให้ความเห็นชอบ
    ** สำนักงานบัญชี สำนักงานกฏหมาย สถาบันการเงิน บริษัทที่ให้บริการวางแผนการเงิน หรือบริการที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการเงินส่วนบุคคล บริษัทประกันภัย บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทจัดการกองทุน และหน่วยงานกำกับดูแล

จรรยาบรรณ (Ethics)

นักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT จะต้องตกลงที่จะยึดถือและปฏิบัติตาม “จรรยาบรรณและความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน” ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ขั้นพื้นฐานที่กำหนดหน้าที่ และความรับผิดชอบที่นักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT พึงปฏิบัติต่อสาธารณชน ลูกค้า เพื่อนร่วมงาน และนายจ้าง เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อวิชาชีพนักวางแผนการเงิน

คุณวุฒิวิชาชีพ ที่ปรึกษาการเงิน AFPT ™

คุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT เป็นคุณวุฒิวิชาชีพที่เป็นที่รู้จัก และใช้ภายในประเทศไทย ผู้ที่ได้รับการรับรองคุณวุฒิ วิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT สามารถพัฒนาทักษะความรู้ ความสามารถผ่านการอบรมและการสอบเพิ่มเติมเพื่อก้าวไปสู่การเป็นนักวางแผนการเงิน CFP

ที่ปรึกษาการเงิน AFPT

ที่ปรึกษาการเงิน AFPT มีหน้าที่ให้คำปรึกษาเฉพาะด้าน การวางแผนการลงทุน และ/หรือด้านการวางแผนประกันชีวิต และการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ

การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ ที่ปรึกษาการเงิน AFPT

การศึกษาการสอบจรรยาบรรณ
ด้านการลงทุนผ่านการอบรมชุดวิชาที่ 1 และ 2 (40 ช.ม./ชุดวิชา)
– อบรมในห้องเรียน (24 ช.ม.)
– ศึกษาด้วยตนเอง (16 ช.ม.)
สอบผ่านข้อสอบฉบับที่ 1 และ 2ปฏิบัติตามจรรยาบรรณความรับผิดชอบในฐานะ ผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน
ด้านการประกันชีวิต ผ่านการอบรมชุดวิชาที่ 1, 3 และ 4 (40 ช.ม./ชุดวิชา)
– อบรมในห้องเรียน (24 ช.ม.)
– ศึกษาด้วยตนเอง (16 ช.ม.)
สอบผ่านข้อสอบฉบับที่ 1 และ 3 ปฏิบัติตามจรรยาบรรณความรับผิดชอบในฐานะ ผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน

การพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง และการต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ

นักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT มีหน้าที่ต้องพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อพัฒนาการทางวิชาชีพการวางแผนการเงิน และกฏระเบียบที่มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปบวตลอดเวลา และจะต้องต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพทุก 2 ปีปฏิทิน เพื่อสิทธิ์ในการใช้เครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP และเครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT ทั้งนี้ สำหรับนักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT ที่ยื่นขอรับรองคุณวุฒิวิชาชีพครั้งแรก ให้เริ่มต้นนับระยะเวลาสำหรับการยื่นต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ ตั้งแต่เดือนมกราคมของปีปฏิทินถัดไป
ในการต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ นักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT จะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์การพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง (Continuing Professional Development – CPD) โดยต้องมีจำนวนชั่วโมง CPD ไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมงต่อ 2 ปี และจะต้องมีจำนวนชั่วโมง CPD ไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมงต่อ 2 ปี แบะจะต้องมีจำนวน CPD ที่มาจากกิจกรรม “การอบรมหรือสัมมนา” อย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนชั่วโมง CPD ที่กำหนด และเป็นการอบรม หรือสัมมนาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องจรรยาบรรณและความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน และ หรือหลักปฏิบัติการวางแผนการเงินที่จัดโดยสมาคมฯ อย่างน้อย 2 ชั่วโมง

ที่มา : สมาคมนักวางแผนการเงิน เส้นทางอาชีพ นักวางแผนการเงิน CFP

สถาบันอบรมของสมาคม

ตารางสอบอบรมหลักสูตรวางแผนการเงิน ปี 2563

ตารางสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ปี 2563 โปรดตรวจสอบเพิ่มเติมที่ http://www.tfpa.or.th/home.php

สอบถามเพิ่มเติม 099-164-4747