9 ปัจจัยสร้างเกษียณสมชีวิตา

ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติ พุทธศักราช 2564 ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มีอัตราส่วนถึงร้อยละ 20 ของประชากร ซึ่งจากสภาพที่ปรากฏจะมีคนแก่ผู้สูงอายุที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีคือมีอิสระภาพทางการเงินในการใช้จ่ายตามความประสงค์จำนวนไม่มากนัก ส่วนมากยังต้องพึ่งพาลูกหลานและทำงานเพื่อให้มีรายได้ในการดำรงชีพ โดยปัญหาเกิดขึ้นจากการขาดความรู้และทักษะในการวางแผนการเงิน ถึงอย่างไรก็ตามหากมีความเชื่อ มีจินตภาพถึงการใช้ชีวิตเกษียณที่มีคุณภาพ และลงมือสำรวจและวิเคราะห์ สถานการณ์ในปัจจุบัน และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ใน http://www.assurewealth.co.th ผู้อ่านจะเห็นการประมาณการณ์ว่า เราจะสามารถบรรลุเป้าหมายเกษียณสมชีวิตา คือ การรู้จักกำหนดรายได้และรายจ่ายเลี้ยงชีวิตแต่พอดี มิให้ฝืดเคืองหรือฟุ่มเฟือย ให้มีรายได้เหนือรายจ่าย มีประหยัดเก็บไว้อันจะส่งผลถึงการใช้ชีวิตในทุกช่วงเวลาตลอดหลังเกษียณอย่างมีความสุขอย่างเหมาะสม พอเพียง ได้ หรือ ไม่ โดยมีปัจจัยที่ใช้ในการคำนวณดังนี้

  1. การลดค่าใช้จ่าย สำหรับค่าใช้จ่ายคงที่ เช่น ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถยนต์ ค่าผ่อนสินเชื่อ ค่าเบี้ยประกันชีวิต ค่าเบี้ยประกันรถยนต์ ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย ค่าส่วนกลางหมู่บ้าน ค่าประกันสังคม เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นต้น ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ลดได้ยาก แต่หากเริ่มต้นด้วยการวางแผนการเงิน เข้าใจลักษณะของหนี้ที่ดีจะก่อให้เกิดรายได้และความมั่งคั่งในอนาคต ส่วนหนี้ไม่ดีมักเกิดจากความอยากเพื่อตอบสนองความต้องการไม่ก่อให้เกิดรายได้ การโอนความเสี่ยงด้วยการประภัยภัยก็ทำแต่พอดีไม่มากไป ไม่น้อยไป เพื่อปิดประตูแพ้ ส่วนเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นส่วนที่ผู้อ่านควร0เพิ่มการออมให้มากสุดเท่าที่จะทำได้เพราะเป็นการแบบอัตโนมัติ และปรับสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะกับความสามารถในการรับความเสี่ยง ก็สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายคงที่ได้เหมาะสมยิ่งขึ้น และสำหรับค่าใช้จ่ายผันแปร เช่นค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์ ค่าบุหรี่ ค่าสุรา ค่าของฟุ่มเฟือย เป็นต้น ซึ่งส่วนที่สามารถที่จะลดได้ง่ายกว่าค่าใช้จ่ายคงที่ แล้วนำค่าใช้จ่ายที่ลดได้มออมและลงทุน
  2. การเพิ่มขึ้นของรายได้ต่อปี ซึ่งเกิดจากการพัฒนาตนเองและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
  3. การควบคุมการเพิ่มรายจ่ายในแต่ละปีโดยคนส่วนมากมีรายได้เพิ่ม รายจ่ายก็เพิ่มตามตัว แต่หากถ้าเราสร้างวินัยทางการเงิน ควบคุมการใช้จ่าย จะทำให้มีการออมและลงทุนมากขึ้น
  4. สร้างแหล่งรายได้ลักษณะบำนาญ เช่น เงินบำนาญข้าราชการ เงินบำนาญจากประกันสังคม เงินปันผลจากการลงทุนในธุรกิจมั่นคง ค่าเช่าจากอสังหาริมทรัพย์ รายได้จากค่าลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร ประกันบำนาญ โดยต้องพิจารณาถึงกระแสเงินสดรับ(Cash Flow) ที่ประมาณการคาดหมายว่าจะได้รับ และ ความสามารถในการรับความเสี่ยงในระดับที่เหมาะสม สอดคล้องเพื่อการจัดทัพลงทุน
  5. หาความรู้ด้านการลงทุนและคบหากัลยาณมิตรที่จะช่วยชี้แนะความรู้ สร้างความเข้าใจเริ่องการลงทุนและสภาวะการณ์การลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เรารู้และตระหนักถึงความสำคัญของการประมาณการของอัตราผลตอนแทนที่จะได้รับ และ ความสามารถที่จะรับความเสี่ยงในระดับใด และควรจะต้องจัดสัดส่วนสินทรัพย์ในการลงทุนก่อนเกษียณอายุและหลังเกษียณอายุอย่างไร ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สำคัญและมีกรอบเวลาที่ชัดเจน
  6. แปลงสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เป็นสินทรัพย์ลงทุนที่ก่อให้เกิดรายได้ เช่นการมีบ้านพักอาศัยหลายหลังหากปรับนำไปให้เช่าในบางหลังเพื่อก่อให้เกิดรายได้
  7. ขยายเวลาเกษียณอายุ ในประเทศญี่ปุ่นและโซนยุโรปกำลังให้มีการขยายการเกษียณอายุเพื่อให้ประชาชนมีโอกาสสร้างรายได้เพื่อใช้ในยามเกษียณ
  8. บริหารความเสี่ยง โดยเราควรดูแลสุขภาพกาย สุขภาพใจให้ห่างจากโรคภัย เข้าใจและลงมือจัดการการโอนความเสี่ยงด้วยการประกัน เช่น ประกันสุขภาพ ประกันโรคร้ายแรง ประกันทุพพลภาพ ประกันทรัพย์สินและอัคคีภัย ประกันรถยนต์ เป็นต้น หลีกเลี่ยงการค้ำประกัน ระมัดระวังการละเมิดทำให้ผู้อื่นเสียหาย หรือเหตุการณ์ต่างๆที่จะทำให้มีผลกระทบกับเงินกองทุนยามเกษียณ
  9. ประมาณการณ์อายุขัยให้เหมาะสม โดยดูจากประวัติของแต่ละครอบครัว ลักษณะการใช้ชีวิต จะเห็นว่าผู้ใหญ่ที่มีอายุ 80 ปีและยังแข็งแรงอยู่เป็นจำนวนมาก มีการจัดงานไว้อาลัยคนที่จากไปอายุเกิน 100 ปีก็เห็นบ่อยครั้งมากขึ้น ดังนั้นหากมีอายุยืนยาวแต่เงินไม่พอใช้ก็จะลำบากยามแก่อย่างแน่นอน

ผู้เขียนเชื่อว่าผู้อ่านทุกท่านจะสามารถสร้างการเกษียณอายุที่สมชีวิตาได้อย่างมั่นใจ และหากปรึกษานักวางแผนการเงินCFP®️ จัดทำแผนการเงิน แผนปฏิบัติการณ์ ติดตามและทบทวนแผนตามระยะ ทุกอย่างจะง่ายดายยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน

Leave a Reply

Discover more from สร้างความสุขและความสงบทางจิตใจด้วยการวางแผนการเงิน

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading